Rainy

วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554

หลักชัยของชีวิต

ชีวิตคืออะไร




ชีวิตคืออะไร     ในทางโลก     - ดำรงอยู่  มีลมหายใจ
                     ในทางธรรม  - สดชื่น ความดีงาม  หลุดพ้น  -   นิพพาน (ไม่ตาย)
องค์ประกอบของชีวิต
1.กาย   -  เลือด  เนื้อ  อวัยวะ
2.จิต     - ความรู้สึก การรับรู้
3.สังคม-  สิ่งแวดล้อม
4.จิตวิญญาณ-การรับรู้ทางปัญญา –ความถูกต้อง ดีงาม
 ต้องศึกษาตัวตนให้เข้าใจ
ทางโลก – ตัวกู  ของกู อุปาทาน  ตัณหา เวทนา ผัสสะ   
 -ตัวตนที่ตายแล้ว  มีกิเลส  เป็นทุกข์
 ทางธรรม  - บรมอัตตา    ตัวตนที่ไม่รู้สึกตาย  และเป็นชีวิตที่นิรันทร์
 หลักชัยของชีวิต
1.วิชา   รู้หลัก  รู้รอบ – อันความรู้รู้กระจ่างแต่อย่างเดียว
                                  แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล
                                  อาจจะชักเชิดชูฟูสกนธ์
                                  ถึงคนจนพงศ์ไพร่คงได้ดี
2.วินัย  ความดี มีระบบ ระเบียบ –คนจะดีเพราะมีวินัย คนจะร้ายเพราะวินัยไม่มี
3.วิสัย   ความเป็นไปที่ถูกต้อง เช่นการใช้  พระเดช   พระคุณ
             เป็นอะไรเป็นให้เป็น  เป็นให้ถูก
             โง่ไม่เป็นเป็นใหญ่ยาก  โง่มากๆก็ยากจะเป็นใหญ่
4.วิสุทธิ์  สะอาด  สุจริต ยุติธรรม
              ฝ่ามือถ้าไม่มีบาดแผล   แม้จะกำยาพิษก็ปลอดภัย
5.วิธี  ศิลปะ  ความสามารถในการเลือกใช้คนให้เหมาะกับงาน
           ความสุข  ความสำเร็จ เกิดจากเหตุประกอบหลายประการ
            ไม่ใช่เพราะ  -เทวดามาพลอยผสม
                                พระพรหมมาช่วยลิขิต
                                ญาติมิตรมาดลบันดาล
     แต่เป็นเรื่องของ – เสาะหา –เกิดมาเป็น
                                     ต่อสู้       - นั่งดูดวง
                                     เชี่ยวชาญ –โชคช่วย
                                     ความสามารถ- วาสนา
                                    พรแสวง – พรสวรรค์
ชีวิตเป็นสุขได้อย่างไร
1.คุณธรรม 10 ประการ
        1.1ทาน - สละ  วัตถุ  สิ่งของ กำลัง ความคิด
        1.2ศีล   - สุจริตกาย วาจา ใจ
        1.3 บริจาจจาคะ –เสียสละประโยชน์สุขส่วนตน  เพื่อส่วนรวม
         1.4 อาชชวะ – ความซื่อตรง
        1.5 มัททวะ  - ความสุภาพอ่อนโยน
         1.6 ตบะ –ความเพียรพยายาม
         1.7 อักโกธะ – ไม่โกรธแค้น  ชิงชัง
         1.8 อวิหิงสา – ไม่เบียดเบียน
          1.9 ขันติ – อดทน
         1.10 อวิโรธนะ – ไม่ประพฤติ ปฏิบัติผิดไปจากทำนองคลองธรรม
2.คุณธรรมของผู้ให้
          2.1 ยิ้มให้ – เป็นมิตร
          2.2 ใจเย็น – รอบคอบใคร่ครวญ
          2.3 เห็นชอบ – เห็นถูก เห็นควร
          2.4 ตอบรับ – ไม่ปฏิเสธ กีดกัน กลั่นแกล้ง
          2.5  สนับสนุน – ทำดีมีประโยชน์
ชีวิตก้าวหน้าด้วย 5 สุข
1.ทำดีมีสุข – ละชั่ว ประพฤติดี กาย วาจา ใจ
2.มั่งมีศรีสุข – ขยันหา รักษาดี มีกัลยาณมิตร เลี้ยงชีวิตเหมาะสม
                       (ถ้าขาดความพอดี  จะเป็นหนี้ตลอดกาล)
3.สมบูรณ์พูนสุข – ไม่มีหนี้สิน พอกินพอใช้ ไร้โรคโศกภัย จิตใจเยือกเย็น
4.อยู่ดีมีสุข – โอบอ้อมอารี   *เจ็บเยี่ยมไข้ ตายเยี่ยมผี มีช่วยเหลือ ไม่แล้งน้ำใจ
                    วจีไพเราะ     *พูดจาอ่อนหวาน พูดประสานสามัคคี  พูดมีสาระ
                     สงเคราะห์ทุกคน * การเสียสละ  เกื้อหนุนด้วยกรุณา ยังโลกาให้เป็นสุข
                     วางตนพอดี  * ไม่เป็นท้าวพระยาลืมก้น ต้นไม้ลืมดิน ปักษิณลืมไพร
5.อยู่เย็นป็นสุข –รักกัน  * เมตตาธรรม
                          ช่วยเหลือกัน *กรุณาธรรม
                   ไม่ริษยากัน * มุติตาธรรม
                   ไม่ทำลายกัน * อุเบกขาธรรม
ความสุข
สามิสสุข  * ความสุขที่ต้องอาศัยวัตถุภายนอกมาตอบสนองความต้องการของประสาทสัมผัสทั้ง 6 ประการ
                   หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ
*แสวงหาไม่รู้จบ หึงหวง ผูกพัน กลัวสูญเสีย
นิรามิสสุข  * ความสุขภายใน เกิจากใจที่สงบ สะอาด สว่าง
                    พอ  ไม่ดิ้นรน
สุขเกิดได้
1.ขอให้รู้จักสันโดษ  พอดี พอเพียง พอใจ ในสิ่งที่ตนเองมี
2.ขอให้รู้จักโทษของกิเลส  - โลภ   โกรธ หลง
3.ของให้รู้จักเหตุแห่งหายนะ  - อบายมุข ยาเสพติด
4.ขอให้มีพระทั้งสามในดวงใจ – พระศาสนา    พระบิดรมารดา  พระครูอาจารย์
เข้าใจกฎธรรมชาติ(ไตรลักษณ์)
      *ความไม่เที่ยง(อนิจจัง)
      *ความทุกข์(ทุกขัง)
      *ความไม่ใช่ตัวตน(อนัตตา)
เข้าใจกฎแห่งกรรม
       *ผู้ปฎิบัติย่อมรับผลของการปฎิบัติ
       *การกระทำทางกาย วาจา ใจ ย่อมให้ผลของมัน
เข้าใจกฎของความเป็นเหตุผล
       *ทุกข์     - ปัญหา
       *สมุทัย  - เหตุของปัญหา
       *นิโรค    - เป้าหมายการแก้ปัญหา
        *มรรค – ทางแก้ปัญหา
หลักปรัชญาแห่งเศรษฐกิจพอเพียง
         *ทางสายกลาง
         *ความพอเพียง –พอประมาณ  มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดี






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น